Writing Sisters Literature แนะนำเคล็ดลับอ่านหนังสือ

แนะนำเคล็ดลับอ่านหนังสือ

เทคนิคอ่านหนังสือ

สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาอ่านหนังสือแล้วจำไม่ได้ ไม่เข้าใจ หรืออ่านช้าเกินไปจนไม่ทันการ หมดกังวลไปได้เลยเพราะเรารวมเทคนิคอ่านหนังสือให้คุณแล้ว บอกเลยว่าครบทั้งเทคนิคการจำ เทคนิคการทำความเข้าใจ และอ่านยังไงให้เร็ว

เทคนิคอ่านยังไงให้จำ

หากอยากอ่านหนังสือแล้วจำเก่ง จำได้นาน มีเทคนิคช่วยได้ ดังนี้

1. เน้นอ่านสารบัญก่อน

หากอยากรู้ว่าหนังสือที่คุณเองกำลังจะอ่านนั้นมีเนื้อหาไปในทิศทางไหนหรือครอบคลุมอะไรบ้าง ให้เราอ่านสารบัญจะได้รู้ว่าใจความสำคัญที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนั้น คือ อะไร

2. ตัดสิ่งรบกวนออกให้หมด 

อะไรที่คิดว่าจะรบกวนการอ่านหนังสือให้กำจัดสิ่งเหล่านั้นออกไปให้หมด เช่น โทรศัพท์มือถือ ทีวี เกม ขนม น้ำอัดลม หรืออะไรก็ตาม

3. อ่านทำความเข้าใจทีละบทหรือทีละประเด็น

หากในหนังสือเล่มนั้น ๆ มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจเยอะ แนะนำให้แบ่งประเด็นย่อยและเลือกเฉพาะประเด็นที่ตนเองสนใจ และทำความเข้าใจแบบเจาะลึก พอเข้าใจแล้วค่อยเริ่มบทใหม่

4. ทำไฮไลท์

หากอ่านไปแล้วเจอข้อความหรือประโยคไหนสำคัญ แนะนำให้ทำไฮไลท์ไว้เสมอหรือจะให้ดีควรแบ่งสีไฮไลท์ออกเป็น 3 รูปแบบ กรณีเป็นเนื้อหาข้อความที่ไม่เคยรู้มาก่อนหรือไม่สามารถทำความเข้าใจได้ในวินาทีนั้นให้ใช้สีแดง เข้าใจแล้วใช้สีเขียว จำได้แต่ยังไม่เข้าใจใช้สีเหลือง

  • พยายามทบทวนข้อความหรือเนื้อหาที่ไฮไลท์สีแดง โดยความถี่การทบทวนต้องไม่บ่อยเกินไป เช่น 2 – 3 วันละครั้ง 
  • สีเขียวทบทวนบ้างเป็นครั้งคราว แต่ความถี่จะต่างออกไปอยู่ที่ประมาณสัปดาห์ละครั้ง 
  • สีเหลืองทบทวนโดยใช้ความถี่ 2 – 3 วันต่อสัปดาห์

อ่านยังไงให้เข้าใจ

ความเข้าใจเป็นหัวใจสำคัญในการอ่านหนังสือ หากไม่เข้าใจและทำได้แค่จำจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยหรือต่อให้มีประโยชน์แค่ระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นหากอยากอ่านหนังสือแล้วเข้าใจ เคล็ดลับเพิ่มเติมหรือหากไม่รู้จะใช้เคล็ดลับไหนดี เรามีคำแนะนำ ดังนี้

1. เลือกช่วงเวลาที่มีสมาธิมากที่สุด

ทำการสำรวจว่าอ่านหนังสือตอนไหนรู้สึกว่าเข้าใจหรือสมองประมวลผลได้ดีกว่าให้เลือกช่วงเวลานี้การอ่าน

2. อ่านจบแล้วอย่าลืมทำบทสรุปด้วย

โดยการสรุปที่ว่าก็ไม่ใช่การสรุปแบบทางการ แต่เป็นการจินตนาการและเน้นการจำเพื่อจดบันทึกมากกว่าการทำความเข้าใจ

เทคนิคอ่านหนังสือให้เร็ว

หากมีเวลาอ่านหนังสือกระชั้นชิด มีเทคนิคช่วยได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอ่านออกเสียง ท่องไว้ว่ายิ่งออกเสียงยิ่งช้า
  • ใช้อุปกรณ์ช่วยชี้ระหว่างการอ่าน เช่น ปากกาหรือดินสอ
  • เลือกอ่านเป็นย่อหน้า

เห็นหรือไม่ว่าปัญหาที่ที่กำลังเผชิญอยู่ไม่ว่าจะเป็นอ่านช้า อ่านแล้วไม่เข้าใจ จำเนื้อหาไม่ได้ สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่ต้องอาศัยความตั้งใจเท่านั้น

Related Post

อ่านหนังสือแบบเร่งด่วน

เทคนิคอ่านหนังสือเมื่อมีเวลาค่อนข้างกระชั้นชิดเทคนิคอ่านหนังสือเมื่อมีเวลาค่อนข้างกระชั้นชิด

จะทำยังไงดีอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะสอบแล้วไม่ได้อ่านหนังสือแบบนี้ซวยแน่ ๆ อย่าเพิ่งกังวลไปอย่างน้อยก็มีเวลาเหลือไม่กี่วันข้างหน้ายังมีโอกาสอ่านอยู่ แต่จะอ่านยังไงให้อ่านน้อยแต่ได้มากและเอาชนะเวลาที่กระชั้นชิดเข้ามาทุกที แน่นอนว่าเรามีเทคนิคแนะนำ แต่จะเป็นยังไงไปดู เทคนิคอ่านหนังสืออ่านน้อยแต่ได้มาก ในเวลากระชั้นชิดลองเลือกใช้วิธีอ่านน้อยแต่ได้มากดูไหม โดยมีวิธีการง่ายมาก 1. อ่านตามแนวข้อสอบ  หากอยากรู้ว่าแนวข้อสอบเป็นไปในทิศทางไหนสามารถหาข้อมูลผ่านทางออนไลน์หรือขอคำแนะนำจากรุ่นพี่และลองอ่านเนื้อหาเหล่านั้นเป็นหลักดู 2. ตั้งขอบเขตเวลาให้ชัดเจนว่าจะอ่านวิชาไหน กี่ชั่วโมง กี่นาที หากทำแบบนั้นเราจะเลือกอ่านเฉพาะวิชาที่ชอบส่วนวิชาที่ไม่ชอบไม่ได้อ่าน อาจเสี่ยงทำให้สอบตกได้คะแนนน้อย 3. โฟกัสส่วนที่ยากที่สุดและน่าจะออกข้อสอบ หากพอคาดเดาได้ว่ามีส่วนที่น่าจะออกข้อสอบมากที่สุดและเนื้อหายากที่สุด แนะนำให้โฟกัสส่วนนั้น ๆ ก่อนเป็นอันดับแรก 4. มองหาตัวช่วย เช่น เพื่อนติวหรือติวเตอร์ออนไลน์ จะได้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งสรุปหรืออ่านเองทั้งหมด เทคนิคอ่านหนังสือแบบเร่งด่วน

เคล็ดลับลดความเครียด

อ่านหนังสือไม่เข้าใจทำไงดีอ่านหนังสือไม่เข้าใจทำไงดี

ช่วยด้วยอ่านหนังแล้วไม่เข้าใจแม้ลองมาหลายวิธีทั้งพยายามแบ่งหมวดหมู่เพื่อทำความเข้าใจและอีกมากมาย แต่อ่านหนังสือยังไงก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีอาจมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากความเครียดมากเกินไป หากอยากแก้ไขต้องเริ่มต้นจากการจัดการความเครียดให้ได้เสียก่อน เคล็ดลับลดความเครียดจากการอ่านหนังสือ หากว่าตนเองมีความเครียดกับไปรับมือหรือสามารถสังเกตได้ถึงความผิดปกติ ขอแนะนำให้รับมือด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้  1. หยุดพักและมองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำแทน แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมประมาณ 20 – 30 นาที เพื่อให้สมองโฟกัสกับสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือสักระยะ 2. หายใจเข้าออกช้า ๆ  ผ่อนคลายความเครียดก่อนค่อยทำความเข้าใจสาเหตุของความเครียด เช่น อาจเกิดจากความกดดันมากเกินไปหรือไม่ได้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าจากนั้นให้เราแก้ไขจากต้นเหตุ 3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยความถี่ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมควรเริ่มต้นที่ 3 –